วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วงแหวนแห่งไฟ

วงแหวนแห่งไฟคืออะไร
วงแหวนแห่งไฟ (Pacific Ring of Fire) เป็นชื่อเรียกบริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิค ที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวประมาณ 40,000 กิโลเมตร

วงแหวนแห่งไฟเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่และการชนกันของแผ่นเปลือกโลก วางตัวตัามแนวร่องสมุทรแนวภูเขาไฟ และบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลก โดยมีภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายในวงแหวนแห่งไฟทั้งหมด 452 ลูก และเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาไฟคุกรุ่นอยู่กว่า 75% ของภูเขาไฟคุกรุ่นทั้งโลก ซึ่งบางครั้งจะเรียกว่า Circum-Pacific Belt หรือ Circum-Pacific Seismc Belt นอกจากภูเขาไฟแล้ว ประมาณ 90% ของแผ่นดันไหวที่เกิดขึ้นทั่วโลกและกว่า 80 % ของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิดขึ้นในบริเวณวงแหวนแห่งไฟนี้

ภูเขาไฟที่คนรู้จักเพราะได้ยินชื่ออยู่บ่อย ๆ ที่ตั้งอยู่ในวงแหวนแห่งไฟ เช่น ภูเขาไฟวิลลาต์ริกา ประเทศชิลี ภาเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเคยเกิดการระเบิดครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ.1980 พ่อเถ้าถ่านออกมากกว่า 1.2 ลูกบาศกิ์กิโลเมตร ภูเขาไฟฟูจิ ประเทศญี่ปุ่น ระเบิดครั้งล่าสุดเมื่อ ค.ศ.1707 ภูเขาไฟพินาตูโบ ประเทศฟิลิปปินส์ เคยระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดเมื่อปี ค.ศ.1991 ภูเขาไฟแทมโบรา เคลูด และเมราปี ในประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟลูอาเปทู ประเทศนิวซีแลนด์

แนวแผ่นดินไหวในโลก นอกจากวงแหวนแฟงไฟยังมีอีก 2 แห่ง ได้แก่ แนวเทือกเขาอัลไพน์ ซึ่งมีแนวต่อมาจากเกาะชวาสู่เกาะสุมาตราผ่านเทือกเขาหิมาลัย และทะเลเมติเตอร์เรเนียน แนวแผ่นดินไหวแห่งนี้มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น 17% ของทั้งโลกและอีกแห่งคือแนวกลางมหสมุทรแอตแลนติก ซึ่งมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น 5-6% ของทั้งโลก

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ผลไม้พืนบ้าน ภาคอีสาน

ผลไม้พืนบ้าน ทางภาคอีสาน แต่บางชนิดทางภาคอื่น ๆ ก็มี แต่ชื่ออาจจะเรียกไม่เหมือนกัน

ตะขบ



บักขามป้อม


บักบก





บักค้อ




บักยางป่า




บักหว่า






บักผีผ่วน





บักเบน




บักเม่า





บักหวดข่า




บักหวายป่า




หมากต่องแร่ง




หมากเม็ก