"ราชการไทย ใกล้ชิดประชาชน" ไม่เคยจะเชือเลย..คำนี้..แต่วันนี้ ศาลแพ่งธนบุรี ทำให้รู้ว่า..ราชการไทย ทำได้
เรื่องของเรื่องคือไม่ได้ไปติดต่อราชการนานมาก ๆ แล้ว วันนี้มีกิจจะต้องไปศาลแพ่งธนบุรี ทำให้รู้สึกดีมาก ๆ กับระบบการบริการประชาชนทีนี่ ทำให้รู้สึกว่าตาสีตาสาอย่างเรา ๆ ไปติดต่อที่ศาลได้โดยไม่สะดวก ได้รับการช่วยเหลือและแนะนำเป็นอย่างดี เริ่มตั้งแต่จอดรถ แล้วหาหน่วยงานที่เราต้องการติดต่อไม่เจอ ก็ไปถาม พนักงานรักษาความปลอดภัย..โอ้โห..อื้งเลย..พี่แก่อะธิบายด้วยน้ำเสียยิ้มแย้มดีมาก ๆ แถมยังเดินนำเราไปจนเกือบถึงแผนกที่เราต้องการ..โห..แค่เริ่มก็ทำให้รักราชการไทยยุกต์ใหม่เลย...จากนั้นก็เดินดุ่ม ๆ เข้าไปติดต่อประชาสัมพันธ์ สอบถามเกี่ยวกับสิ่งที่เราต้องทำ ได้รับการช่วยเหลือที่ดีมาก ๆ เราพกไปแค่บัตรประชาชนกับเอกสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก็ไม่รู้ว่ามันต้องเขียนคำขอในรูปแบบ..บลา ๆ ๆ เราก็ไม่รู้..ทางพนักงานประชาสัมพันธ์ ขอบัตรของผม และสอบถามรายละเอียดส่วนตัวนิดหน่อยแล้ว...พิมพ์คำขอให้..ผมแค่เซ็นต์อย่างเดียว..โอ้แม่เจ้า..ทำไม่บริการดีอย่างนี้..นี่ซิ..ราชการต้องเป็บอย่างนี้..ซึ่งในใบที่ให้ผมเซ็น..ถ้าให้ผมมาร่างเอง..ขอบอก..ผมคงทำไม่ได้ นี่ขนาดเรียนมาบ้างนะ..มันมีคำแบบ..แบบว่าเฉพาะทางกฎหมาย..ศัพท์แปลก ๆ...แล้วถ้าเป็นชาวบ้านตาสีตาสาไม่ตายเหรอ..ถ้าให้ร่างเอง...แต่นี่..ประทับใจมาก ๆ ช่วยเหลือทุกอย่างเลย..อีกทั้งหลังจากนั้นก็ได้รับคำแนะนำเป็นอย่างดีในการเดินเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่แผนกอืน ๆ ก็แนะนำทุกอย่างเป็นอย่างดี ด้วยความเป็นกันเอง..บอกเลยว่า..งานนี้ไม่มีบูดให้เห็น....อย่ากบอกว่า..ถ้าทำหน่วยงานทำได้อย่างนี้...ประชาชนรักตายเลย....ไหน ๆ ก็ไปถึงโน่นแล้วก็เก็บสาระมาฝากกันเล็กน้อย
การจัดการมรดก
บริการพิเศษศาลแพ่งธนบุรี
บริการให้คำปรึกษาและทำคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
ศาลแพ่งธนบุรี ให้การบริการพิเศษแก่ประชาชนที่ไม่สามารถจ้างทนายความได้ ในคดีขอตั้งผู้จัดการมรดา โดยจัดนิติกรให้คำแนะนำ ปรึกษาจัดทำคำร้องขอจัดการมรดก กรณีไม่มีผู้คัดค้านหรือไม่มีข้อพิพาท เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
เหตุใดจึงต้องมีคำร้องขอตั้งผุ้จัดการมรดก
เมือบุคคลถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกของบุคคลซึ่งได้แก่ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่มีอยู่ก่อนถึงแก่ความตาย รวมทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบต่าง ๆ ตกทอดแก่ทายาท ในกรณีที่ทายาทของบุคคลนั้นไม่สามารถจัดการทรัพย์สินของผู้ตายได้ เช่น ธนาคารหรือหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง สำนักงานที่ดินไม่อาจเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกคือใคร
ผู้จัดการมรดก คือ บุคคลซึ่่งศาลมีคำสั่งให้เป็นผุ้จัดการมรดก เพื่อรวบรวมทำบัญชีและแบ่งมรดกให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก
คุณสมบัติของผู้จัดการมรดก
1.บรรลุนิติภาวะ
2.ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต
3.ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความความสามารถ
4.ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
ผู้มีสิทธิยื่นขอจัดการมรดกต้องเป็น
1.ทายาทโดยธรรม หรือผู้รับพินัยกรรม
2.ผู้มีส่วนได้เสียในมรดก
3.พนักงานอัยการ
ศาลแพ่งธนบุรีให้บริการตั้งผู้จัดการมรดกในกรณีที่ผุ้ตายอยูในเขตอำนาจศาลแพ่งธนบุรี
1.เขตธนบุรี
2.เขตจอมทอง
3.เขตคลองสาน
4.เขตบางขุนเทียน
5.เขตบางบอน
6.เขตทุ่งครุ
7.เขตราษฏร์บูรณะ
8.เขตบางแค
9.เขตภาษีเจริญ
เอกสารที่ใช้ในการจัดการมรดก
1.หลักฐานแสดงความสัมพันธ์ของผู้ร้องกับผู้ตาย เช่น
1.1 กรณี บุตร กับ บิตา/มารดา, บิดา/มารดา กับ บุตร
-ใบสำคัญการสมรส หรือ ใบสำคัญการหย่าของบิดามารดา
-สูติบัตรของผู้ร้อง หรือทะเบียนการรับรองบุตร หรือทะเบียนการับบุตรบุญธรรม
1.2 กรณีคู่สมรส
-ใบสำคัญการสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตาย
1.3 กรณีเป็นผู้รับพินัยกรรม หรือผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม
-พินัยกรรม
2.มรณบัตรของผู้ตาย
3.สำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย
4.หลักฐานเกี่ยวกับทรัพย์สิน เช่น โฉนดที่ดิน สมุดเงินฝาก สมุดคู่มือรายการจดทะเบียน รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์
5.บัญชีเครื่อญาติ
6.หนังสือแสดงความยินยอมของทายาท
7.มรณบัตรของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่ถึ่งแก่ความตายก่อนผู้ตาย
8.หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชือและชื่อสกุลของผู้ร้องหรือผุ้ตายหรือทายาทผุ้มีสิทธิรับมรดก
ขันตอนการทำคำร้องขอจัดการมรดก
ปรึกษาให้คำแนะนำ-หลักฐานครบ-ทำคำร้อง-ชำระค่าธรรมเนียมศาลและกำหนดวันนัดไต่สวน-ศาลไต่สวนคำร้อง-ค่ารับรอง,ค่าถ่ายเอกสาร
นับแต่ได้ยื่่นคำร้องของเป็นผุ้จัดการมรดก ศาลจะนัดไต่สวนคำร้องภายใน 45 วัน ซึ่งในวันนัดผู้ร้องขอจัดการมรดกต้องมาศาลพร้อมกับพยาน (ถ้ามี) หลังจากไต่สวนเสร็จ ผู้ร้องขอคัดคำสั่ง โดยเจ้าหน้าที่รับรองสำเนาถูกต้อง และผู้ร้องขอจัดการมรดกนำคำสั่งศาลไปดำเนินการตามความประสงค์
ค่าใช้่จ่ายในการจัดการมรดก
1.ค่าใช้จ่ายในวันยื่นคำร้อง
-ค่าธรรมเนียมศาล 200 บาท
-ค่าประกาศหนังสือพิมพ์ 500 บาท
2.ค่าใช้จ่ายในการไต่สวน
-ค่ารับรองสำเนา ฉบับละ 50 บาท
ลำดับในการไต่สวน
1.ความสัมพันธ์ระหว่างผุ้ร้องกับผู้ตาย เช่น ผู้ร้องหรือพยายเกี่ยวข้องกัน อย่างไรกับเจ้ามรดก
2.วันที่ผู้ตายถึ่งแก่ความตาย สาเหตุการตาย และภูมิลำเนาของผู้ตายก่อนถึงแก่ความตาย ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมหรือแต่งตั้งผุูัจัดการมรดกไว้หรือไม่
3.ทรัพย์มรดกของผุ้ตาย
4.เหตุขัดข้องในการจัดการมรดก
5.เรื่องบัญชีเครื่อญาติ
6.ความยินยอมของทายาท
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการจัดการมรดก
ทายาทโดยพินัยกรรม เป็นกรณีที่ผุ้ตายทำพินัยกรรมโดยระบุผู้รับมรดกและอาจระบุบุคคลใดให้เป็นผุ้จัดการมรดกก็ได้
ทายาทโดยธรรม เป็นกรณีที่ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้หรือทำพินัยกรรมไว้ แต่ไม่มีผลบังคับได้ทายาทโดยธรรม มี 6 ลำดับ ทายาทในลำดับตันมีสิทธิได้รับมรดกก่อนทายาทที่อยู่ลำดับหลัง
1.ผุ้สืบสันดาน (บุตร)
2.บิดา มารดา
3.พี่น้องร่วมบิดา มารดา เดี่ยวกัน
4.พี่น้องร่วมบิดา หรือมารดาเดียวกัน
5.ปู่ ย่า ตา ยาย
6.ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรส เป็นทายาทโดยตรง มีสินธิได้รับส่วนแบ่งมรดกเหมือนเป็นทายาทชั้นบุตร และถ้าไม่มีทายาททั้ง 6 ลำดับแล้ว จะมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด
ศาลที่ยื่นคำร้อง
ให้เสนอต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแต่ความตาย ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาล
ศาลแพ่งธนบุรี
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้
ศูนย์ให้บริการข้อมูลศาลแพ่งธนบุรี (ประชาสัมพันธ์) 0-2416-7196,0-2416-7243,0-2415-0040-44 ต่อ 207,343
ผู้อำนวยการ 0-2415-2949
งานการเงิน 0-2416-4090
งานบริการประชาชน (จัดการมรดก) 0-2415-4985
งานไกล่เกลื่่ย 0-2416-4519
งานรับฟ้อง 0-2415-4976
งานหน้าบัลลังก์ 0-2415-2373
งานนำหมาย 0-2415-4986
งานเก็บสำนวนคดีดำ 0-2416-7084
งานเก็บสำนวนคดีแดง 0-2415-0551
งานสารบบ 0-2416-4471
งานศูนย์ถ่ายเอกสาร 0-2415-2399
งานสารบรรณ 0-2415-1050
งานอุทรณ์-ฏีกา 0-2416-7101
ศาลแพ่งธนบุรี
เลขที่ 123 ถนนเอกชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร 10150
www.coj.go.th/civiltbc