หนึ่งวันคนไทยต้องได้รับแคลเซียม 800-1500 mg ถึงจะพอเพียงต่อการป้องกันโรคกระดูกพรุน แต่ปัจจุบันคนไทยได้รับแคลเซียมเฉลี่ยต่อวันแค่ 361 mg เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอ หากร่างกายคนได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ร่างกายจะดึงแคลเซียมที่สะสมที่กระดูกมาใช้ เมื่อเกิดขึ้นเป็นประจำ แคลเซียมถูกดึกออกมาใช้มากจนกระทั่งกระดูกพรุน เปราะบางทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง แตกหักง่ายแม้จะได้รับการกระแทกเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาการเหล่านี้ เป็นอาการของโรค กระดูกพรุน
ในระยะแรกโรคนี้จะไม่แสดงอาการออกมา จนกระทั่งมีความรุนแรงมากขึ้น จึงแสดงอาการออกมา เช่น ปวดหลังเรื้อรัง หลังค่อมเนื่องจากการยุบตัวของกระดูกสันหลัง หรือกระดูกสะโพกหัก ทำให้เดินไม่ได้เหมือนเดิม และเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
ผู้ที่เสี่่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน
1.ผู้ที่อายุ 30 ปีขึ้นไป พบว่าการสะสมแคลเซียมในกระดูกมีค่าเท่ากับศูนย์ นั่นคือ ขบวนการสะสมแคลเซียมในกระดูกกับการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกมีค่าเท่ากัน พออายุเพิ่มมากขึ้น ความสามารถในการสะสมแคลเซียมในกระดูกจะน้อยกว่ากระบวนการสลายแคลเซียมออกจากกระดูก ทไให้เนื้อกระดูกบางลง
2.หญิงวัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเพศที่ลดลง ทำให้ขบวนการสลายแคลเซียมเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ไว้ขึ้น
3.ผู้ที่ดื่มการแฟเป็นประจำ พบว่าการดื่มกาแฟเป็นประจำจะรบกวนการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย
4.ผุ้ที่ขาดการออกกำลังกาย
5.ผุ้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ
6.ผุ้ที่สูบบุหรี
7ผู้ที่ขาดแคลเซียม หรือวิตามินดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น