เมลามีน เมื่อรวมตัวกับสารฟอร์มาลดีโฮด์เป็นพอลิเมอร์ เรียกว่าเมลามีนเรซิน สามารถนำไปผลิตเป็นข้าวของเครื่องใช้หลากหลายชนิด ตั่งแต่พลาสติก จานชามเมลามีน ถุงพลาสติก พลาสติดสำหรับห่ออาหาร นอกจากนี้เมลามีนยังอยู่ในอุตสาหกรรมเม็ดสีเป็นหมึกพิมพ์สีเหลือง นำไปทำน้ำยาดับเพลิงคุณภาพดี น้ำยาทำความสะอาด และปุ๋ย
ความเป็นพิษของเมลามีนเกิดขึ้นได้แม้ยังไม่ได้กินเข้าไป กล่าวคือจะเกิดการระคายเคืองเมื่อสูดดม ถ้าสัมผัสถูกผิวหนังอาจเกิดการอักเสบ เมื่อกินเข้าไปจะสะสมเพราะร่างกายไม่สามารถย่อยสารเมลามีได้ และพยายามขับออกทางระบบปัสสาวะ กลายเป็นนิ่วในท่อปัสสาวะและไต ทำให้เกิดไตวายหรือเกิดมะเร็งที่ท่อปัสสาวะ กลายเป็นนิ่วในท่อปัสสาวะและไต ทำให้เกิดไตวายหรือเกิดมะเร็งที่ท่อปัสสวะได้
การใช้ประโยชน์จากเมลามีน หากใช้ให้ถูกต้อง เมลามีก็จะมีประโยชน์ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับอาหาร โดยทั่วไปเราจะนำเมลามีนเป็นพลาสติกที่ทนความร้อง จึงมีที้งจานชาม สารพัดขนาด ถ้วยกาแฟ ช้อนส้อม เป็นต้น ภาชนะเหล่านี้เป็นทีนิยม เพราะมักมีสีสันลวดลายน่ารักสวยงาม น้ำหนักเบา ไม่ต้องระวังรักษามากเท่าภาชนะที่ทำจากกระเบื้องหรือแก้ว
คุณใช้ภาชนะเมลามีนอย่างถูกวิธีหรือเปล่า กระทรวงสาธารณสุขมีคำเตือนถึงอันตรายของการใชภาชนะเมลามีใสอาหารทีร้อนจัด อาหารที่เป็นกรด และการนำไปช้กับเตาไมโครเวฟ เพราะจะทำให้สารฟอร์มาลดีไฮด์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งได้ การใช้ภาชนะเมลามีให้ปลอดภัย อุณหภูมิที่ใช้ไม่ควรเกินระดับประมาณ 60 เงศาเซลเซียส เพราะสารฟอร์มาลดีไฮด์จะแพร่กระจายออกมาไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/ลิตร แต่หากจะใช้งานที่อุณหภูมิ 60-69 องศาเซลเซียส ต้องระมัดระวังไม่ควรคงอุณหภูมิสูงไว้นาน และเมื่อใช้เตาไมโครเวฟควรใช้ระยะเวลาไม่เกิน 2 นาที ระดับกำลังไฟฟ้า 900 วัตต์ ดังนี้นจึงไม่ควรนำมาใช้กับเตาไมโครเวฟ หรืออาหารที่มีอุณหภูมิเกิน 100 องศาเซลเซียส เช่น น้ำเดือดจัด ของทอดร้อน ๆ จากกระทะก็ไม่ควรนำมาใส่ภาชนะเมลามีนโดยตรง
อาหารเพื่่อสุขภาพ
ดร.อาณดี นิติธรรมยง
สถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดล
แม่บ้าน
ปีที่ 33 ฉบับที่ 474
พฤาจิกายน51
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น