1. บอกอาการให้หมอฟังอย่างละเอียด ไม่ใช่การคาดเดาหรือวินิจฉัยอาการตนเองให้คุณหมอฟัง ซึ่งอาจทำให้คุณหมอสับสน ส่วนคนที่ปรึกษาคุณหมอเพื่อขอความเห็นที่สอง คุณจำเป็นต้องเล่าอาการหรือความผิดปกติตั้งแต่แรกให้คุณหมอฟังอย่างละเอียดเช่นกัน
2. ซื่อสัตย์ต่อตนเองและคุณหมอ ถึงคราวต้องยอมรับความจริงว่าคุณกำลังไม่สบาย ดังนั้นข้อมูลใดที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาก็ควรบอกให้หมดเพราะนั่นอาจเป็นตัวช่วยในการรักษาที่ถูกต้องและตรงจุดมากขึ้น
3. คนในครอบครัว-เพื่อนรอบกาย ที่พึ่งยามยาก หากคุณต้องการที่ปรึกษา คุณสามารถพาคนในครอบครัวหรือเพื่อนเข้าไปช่วยฟังอีกแรง
4. พกผลการตรวจไปด้วยเสมอ หากคุณมีผลตรวจจากห้องแล็ปฟิล์มเอกซเรย์ CT Scan MRI ฯลฯ ที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาให้นำติดตัวไปด้วยทุกครั้งเพื่อคุณหมอจะอ่านและวินิจฉัยได้ทันที จะได้ไม่ต้องเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจซ้ำอีกครั้ง ในกรณีที่ต้องย้ายการรักษาไปโรงพยาบาลอื่น ก็ควรขอถ่ายสำเนาประวัติเก็บไว้
5. ฝึกจำชื่อสามัญทางยา คนจำนวนมากไม่รู้จักชื่อสามัญทางยาที่ตนเองกิน ทำให้เกิดความสับสนการจ่ายยามาก ดังนั้นเพื่อสุขภาพของตนเองคุณควรจำชื่อสามัญทางยา ขนาดยาและความถี่ของยาที่กินอยู่หรือพกซองยานั้นติดตัวไปด้วยทุกครั้ง และที่สำคัญอย่าลืมจดบันทึกยาที่แพ้และแจ้งหมอด้วยทุกครั้ง
6. จดทุกคำที่อยากรู้ ระหว่างรอนัดพบแพทย์ ให้คุณจดทุกคำถามที่อยากรู้เกี่ยวกับโรคหรืออาการที่สงสัยลงในสมุดบันทึก เพื่อให้คุณหมอแนะนำและให้ความรู้ในการป้องกันและรักษาที่ถูกต้อง
จากนิตยสาร HealthToday THAILAND
ปีที่ 9 ฉบับที่ 92
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น