วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เรื่องของกาแฟที่คุณอาจยังไม่รู้

การดื่มเครื่องดื่มประเภทกาแฟ ชา น้ำอัดลม หรือโกโก้ต่างมีสาร "คาเฟอีน"ซึ่งจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับเครื่องดื่มแต่ละชนิด แต่เพื่อสุขภาพของคนชอบเครื่องดื่มที่มีรสชาติและสีสันพิเศษเหล่านี้ เราได้รวบรวมเรื่องราวของกาแฟที่คุณอาจจะยังไม่รู้ที้ง 2 ด้านมาฝากกัน

ด้านดี ๆ ที่คุณต้องรู้
-"คาเฟอีน"เป็นสารกระตุ้นประสาท ดังนั้นผู้ที่ดื่มก็จะมีความรู้สึกตื่นตัว ไม่ค่อยง่วง คนที่ต้องทำงานดึก ๆ หรือดูหนังสือดึก ๆ ก็อาจจะใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มความทนทานในการอยูุ่ดึก
-ในชา โดยทั่วไปจะมีสาร anti-oxidant ซึ่งพบว่าสามารถช่วยป้องกันเซลล์เนื้อเยื่่อของร่างกายให้มีโอกาสเกิดมะเร็งน้อยลง ในกาแฟเองก็มีเช่นกันแม้ว่าจะไม่มากก็ตาม
-โรงสมองเสื่อม พาร์กินสัน (Parkinson's disease) มีการศึกษาหลายชิ้นทำในผู้ชายสูงอายุส่วนใหญ่ พบว่ากาแฟลดความเสี่ยงในการเกิดโรงสมองเสื่อมชนิดนี้ได้ แต่ก็มีชิ้นหนึ่งที่ทำในหญิงพบว่า หากดื่มกาแฟ 1-3 ถ้วย สามารถลดอุบัติการณ์ในการเกิดได้ 50 เปอร์เซนต์ โดยที่หากดื่มมากกว่านี้ไม่ได้ประโยชน์เพิ่มเติม
-การดื่มกาแฟในปริมาณไม่มาก(ไม่เกิน 2 ถ้วยต่อวัน ประมาณ 100-200 มิลลิกรัม) ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะกระดูกบาง ถ้าดื่มนมอย่างน้อยวันละ 1 แก้ว โดยเฉพาะผู้หญิงที่ดื่อมการแฟควรได้ปริมาณของแคลเซียมอย่างเพียงพอ (1,000-2,000 มิลลิกรัมต่อวัน)
-สมาคมมะเร็งแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาสรุปว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน ไม่เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งแต่อย่างใด

ข้อควรระวังที่ต้องจำไว้
-หากเป็นคนนอนไม่ค่อยหลับ คาเฟอีนจะเป็นตัวกระตุ้นทำให้เรามีปัญหาเรื่องการนอนมากขึ้น
-การดึ่มกาแฟเพียงแก้วเดียวก็อาจจะเกิดอาการใจเต้นเร็วหรือในสั่นได้ เนื่องจากมีประมาณคาเฟอีนที่สูงกว่าที่เคยได้รับมาก่อน คนที่ไวต่อคาเฟอีนและมีโรคหัวใจเต็นผิดปกติไม่ควรดื่ม
-น้ำมันกาแฟ (coffee oil,kahweol และ cafestol) ทำให้ระดับของโคเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นได้ แต่การใช้กระดาษกรองในการต้มกาแฟจะสามารถจับสารพวกนี้ได้
-การดื่มเครื่องดื่มกลุ่มดังกล่าว โดยทั่วไปมักจะมีการผสมด้วยน้ำตาลเป็นหลัก ดังนั้นปัญหาที่ตามมาคือ เรื่องของระดับน้ำตาลในเลือดซึ่งต้องระวังในคนใข้โรคเบาหวาน และปัญหาเรื่องของน้ำหนักตัว ซึ่งหากน้ำหนักมาก ๆ ปัญหาเรื่องดรงไขข้อก็จะตามมา

HealthToday Special
No.2 Foodiscovery

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น