วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

โรคฉี่หนู (Leptospirosis)

อย่างที่รู้กันว่าช่วงฤดูฝน ปัญหาหนึ่งที่แก้กันไม่ตกก็เห็นจะเป็นบรรดาสัตว์ตัวเล็กที่ไม่พึงปรารถนา มักจะหนีฝนเข้ามาอาศัยในบ้านเรือน นอกจากจะสร้างความรำคาณแล้ว สัตว์พวกนี้ยังเป็นตัวนำโรคร้ายมาสู่คนที่คุณรักได้ โรคที่มาจากสัตว์จำพวกนี้มักจะพบบ่อยคือ "โรคฉี่หนู"

โรงนี้พบได้ทั้งจากคนและสัตว์ โดยในสัตว์ที่เป็นพาหะนั้นอยู่รอบตัวเราเอง มักพบในหนู วัว ควาย สุกร หมา แมว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวสำคัญที่พบบ่อยสุดคือ หนู นั้นเอง ซึ่งเป็นที่มาของ โรคฉีหนู เชื้อโรคนี้เป็นเชื้อแบคทีเรีย ชื่อว่า เลปโตสไปร่า แรกเริ่มนั้นหนูเป็นตัวแพร่ที่สำคัญ เพราะเชื้อจะอยู่ในไตของหนู ทุกครั้งที่สัตว์พวกนี้ฉี่ออกมาก ก็จะปล่อยเชื้อโรคออกมาด้วย และปนเปื้อนอยู่ตามพื้น หรือสิ่งของต่าง ๆ คนสามารถติดเชื้อจากการสัมผัสเชื้อที่อยู่ในที่ต่าง ๆ หรือในปัสสาวะของหนู หรือบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนฉี่ของหนู เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังที่มีบาดแผล รอยถลอก เยื่อบุต่าง ๆ และผิวหนังที่นุ่มจากการแข่น้ำนาน ๆ หลังจากเชื้อเข้าสู่ร่างการจะมีระยะฟักตัวของโรคประมาณ 5-14 วัน เฉลี่ย 10 วัน

สำหรับอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ติดเชื้อโรคฉี่หนู มี 2 แบบ คือ แบบที่ไม่รุนแรงจะมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา ปวดหัว ตัวร้อน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นอาการที่ไม่ต่างจากโรคติดเชื้ออื่น ๆ อีกหลายชนิด แต่ในกรณีที่มีอาการรุนแรง เชื้อจะเข้าไปอยู่บริเวณที่ร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกัน เช่น ลูกตา จะทำให้มีอาการตาอักเสบแดง น้ำตาไหล สู้แสงไม่ได้ หากเชื้อจะเข้าไปอยู่ในสมองจะทำให้มีเลือดออกในร่างการ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิต

เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคฉี่หนู่ ควรหลีกเลี่ยงจากแหล่งสกปรก บริเวณที่เป็นแหล่งสะสม ของเชื้้อโรค และควรปฎิบัติตัวให้ถูกสุขลักษะดังนี้
1.หลีกเลี่ยงการแข่น้ำ ลุยน้ำหรือว่ายน้ำในขณะที่มีน้ำท่วมขัง ถ้าหากจำเป็น ต้องพยายามไม่ให้น้ำเข้าตา จมูก หรือปาก
2.หลีกเลี่ยงการเดินย่ำโคลน ดินชื้้นแฉะ ด้วยเท้าเปล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่่อมีบาทแผล รอยขีดข่วน ที่ขา และเท้า ควรสวมรองเท้ายางหุ้มข้อ เพื่อการป้องกันเชื้อโรค
3.ดูแลบ้านเรือนให้สะอาด ไม่ให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งหากินของหนู ซึ่งเป็นพาหะนำโรค
4.กำจัดขยะ ที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และที่อาศัยของหนู
5.ควรเก็บอาหารไว้ในที่มิดชิด เพื่อป้องกันไม่ให้หนูถ่ายปัสสาวะรดอาหาร
6.อาหารที่ค้างมื้อ เมื่อนำมากินในมื้อต่อไป จะต้องนำมาอุ่นให้เดือดเสียก่อน เพื่อให้เชื้้อโรคที่อาจปะปนอยู่ในอาหารถูกทำลายโดยความร้อย
7.นำสัตว์ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคทุกปี
8.ควรปิดฝาโอ่งหรือภาชนะบรรจุน้ำ เพื่อป้องกันหนูมาถ่ายปัสสาวะลงไปในน้ำ
9.ภาชนะที่ใช้ใส่อาหาร ควรล้างทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันเชื้้อโรค
10.ล้างมือทุกครั้งก่อนกินอาหาร

ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นแนวทางในการปฎิบัติเพื่อป้องกันให้พ้นจากโรคฉี่หนูและแมลงสาบให้หมดไปได้ รับรองว่าโรคร้ายจะไม่มาเยีอนคุณและสมาชิกในครอบครัวคุณอย่างแน่นอน

106 Magaxine
May 2009

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น